แมกนีเซียม
แมกนีเซียม ซัลเฟต : (Mgso4)
แมกนีเซียม ซัลเฟต โมเลกุลเดี่ยว 18 % ละลายน้ำได้ดี (Magnesium sulfate) / ขนาดบรรจุ 1 กกแมกนีเซียม สำหรับ เร่งใบให้เขียวแก่ ฉีดพ่นทางใบ เร่งการสร้างแป้ง ในลำไย และไม้ผล พืชสวนการเกษตร , แมกนีเซียมซัลเฟต ปรับใช้ เพื่อแก้ไขปัญหา พืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม หรือขาดกำมะถันในดิน แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในโมเลกุลของคลอโรฟิล
คลอโรฟิลล์ เป็นสารที่ละลายได้ดีในอะซีโตนและแอลกอฮอล์ โครงสร้างอาจแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหัว และส่วนหาง โดยที่ส่วนหัวของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็นวงแหวนไพรอล (pyrole ring) ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ 4 วง และมีธาตุแมกนีเซียมอยู่ตรงกลาง โดยทำพันธะกับไนโตรเจน ส่วนหัวนี้มีขนาดประมาณ 1.5x1.5 อังสตรอม ส่วนหางของคลอโรฟิลล์ มีลักษณะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 20 อะตอม มีความยาวประมาณ 2 อังสตรอม คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงได้ดี ที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้าและสีแดง แต่ดูดกลืนช่วงแสงสีเหลืองและเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ดูดกลืนจึงสะท้อนออกมา ทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว ( Chlorophyll อ่านต่อ... )
ใช้แมกนีเซียมผสมน้ำ้ฉีดพ่น เร่งการสร้างคลอโรฟิล ทำให้ใบเขียวแก่พร้อมกัน และพร้อมที่จะทำการ ปรุงอาหารของพืชได้เต็มที่ สำหรับลำไยที่แตกใบอ่อนไม่พร้อมกัน
บทความ : ( MgO ) ธาตุอาหารรองที่สำคัญ (ใน 8 ธาตุ) แมกนีเซียมสร้างกระบวนการสังเคราะห์แสง หนึ่งในธาตุหลักช่วงของ กระบวนการ ปรุงอาหาร ที่เป็นครัวสำคัญของพืช..
แมกนีเซียม ใช้กับลำไย
แมกนีเซียม ใช้ดีกับลำไยอย่างไร..?เบื้องต้น สำหรับการเตรียมต้นลำไยที่ไม่ดีนัก ในเรื่องการที่ทำให้ลำไยสระสมอาหาร ก่อนราดสาร หรือราดสารแล้ว เกิดแตกใบอ่อน จากสาเหตุดังกล่าวเมื่อลำไยแตกใบอ่อน ก่อนหรือหลัง ราดสาร การใช้แมกนีเซียมฉีดพ่น เร่งให้เกิดกระบวนการ ให้ใบที่แตกออกมานั้น แก่เร็วขึ้น (อ่าน.. คลอโรฟิลล์ – โครงสร้างวงแหวนไพรอล )
ภาพด้านล่างนี้ ได้ทำการใช้แมกนีเซียม เป็นส่วนหนึ่ง ประกอบในการราดสารลำไยนอกฤดูการ ลำไยที่มีอายุมากกว่า 20 ปี และลำไยที่อายุต่ำกว่า 10 ปีจำนวนหนึ่ง ทำการเตรียมต้น โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษพืช ให้ต้นสมบูรณ์ 80-85 % ทำให้ใบลำไยแตกพร้อมกันรอบสุดท้าย ต้นเดือน กรกฎาคม ใบเพสลาด 30-50 % ( ความหมายคือ ใบที่ยังไม่เขียวมาก แต่สินสุด ของใบที่จะเจริญ หยุดการแตกเพิ่ม และยังไม่ได้สร้างตาดอกและตาใบ)
ทำการราดสาร ในปลายสัปดาห์ ที่2 ต้นสัปดาห์ ที่3 เดือน กรกฎาคม 2556 ( ราดสารในอัตรา เส้นผ่าศูนย์กลางต้นเมตรละ 2 ขีดตามส่วนขนาดของต้นลำไย ) ราดน้ำให้ชุ่มทั่วทรงพุ่ม แล้วโรยสารรอบๆ ที่เตรียมความเหมาะสมไว้ แล้ว ราดน้ำตามอีกพอสารละลาย..( ให้น้ำสม่ำเสมอ )
ราดสารได้ 7 วันทำการฉีดพ่นด้วย สารพ่นทางใบ ( สารพ่น..อ่านต่อ... ) ( ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ) ( ฉีดพ่นเนื่องจาก รอบๆทรงพุ่มลำไยไม่สามารถ รับแสงทั่วสมำเสมอกัน การสังเคาระห์แสงของใบจึงไม่เท่ากัน..หากไม่ฉีดพ่นมีโอกาสที่ลำไยแทงช่อไม่พร้อมกัน )
อีก 7 วันต่อมา ทำการสารฉีดพ่นทางใบ ครั้งที่สอง ราดสารถึงขั้นตอนนี้ 14 วัน
ครบ 19-20 วัน เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ปลายยอด มีการผลิแตกตาบางส่วน ทำการฉีดกระตุ้นการแตกตาดอกครั้งที่หนึ่ง พร้อมกำจัดแมลงปากดูด – แมลงที่มีกระดองแข็งต่างๆ ใช้
สารกำจัดแมลง ( แก้ไข)( ชื่อสามัญ, ชื่อสามัญ คลอร์ไพริฟอส + ไซเพอร์เมทริน (Chlorpyrifos 50%) + (Cypermethrin 5%) ) ชื่อทางการค้าท่านต้องถามร้านเองครับ
- Θ คลอร์ไพริฟอส + ไซเพอร์เมทริน = 250 -300 ชีชี
- Θ ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต 13 – 0 - 46 = 350 - 400 กรัม
- Θ แมกนีเซียม = 300 -350 กรัม
- Θ สารจับใบ เพื่อปรับคุณภาพน้ำ = 15 ชีชี
ครบ 26 – 28 วัน ลำไยแทงช่อราว 65-70% ทำการฉีดพ่นครั้งที่สอง
- Θ คลอร์ไพริฟอส + ไซเพอร์เมทริน = 250 -300 ชีชี
- Θ ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต 13 – 0 - 46 = 350 - 400 กรัม
- Θ แมกนีเซียม = 300 -350 กรัม
- Θ สารจับใบ เพื่อปรับคุณภาพน้ำ = 15 ชีชี
ลำไยระยะนี้ ความยาวของช่อ ราวครึ่งคืบ ให้ปุ๋ยทางดิน 25 – 7 – 7 + แมกนีเซียม ( ชนิดที่มีส่วนประกอบ แมก+กำมะถัน (MgO -16% ) กำมะถัน13% - ) ผสมอัตรา 10 : 1 รวมให้ปุ๋ย 300 - 400 กรัม/ต้นตามขนาดต้น เพิ่มน้ำอีกเท่าตัว สังเกตการณ์แห้งของดิน (คงความชื้นให้ดินตลอดไม่ให้แห้ง) ช่อยาวอย่างรวดเร็ว ไม่มีการแตกใบอ่อน ใบขิงหลุดหล่น ใบที่พอมีไม่เจริญ และช่อลำไยยาวและอวบขึ้น ใบลำไยเขียวจัด จากการฉีดพ่นตามขั้นตอน แรกถึงครบลำไยแตกช่อพร้อมกัน ช่อหนาแน่นมากกว่า 95 % ไม่มีใบเสียหายหรือล่วง ยังคงเขียวสมบูรณ์ ดังภาพที่ท่านชมต่อแต่นี้..ลำไยราว 40 วัน
ทำลำไยนอกฤดู เราต้องการทำให้ได้ ดอกลำไย มากกว่า 85-95 % การทำลำไยนอกฤดูกาล มีความจำเป็นต้องเต็มที่ หากมีปัญหา อาจต้องถอยไปเริ่มต้นใหม่.
วิธีใช้ แมกนีเซียม 18 % ผสมน้ำฉีดพ่น ผสมร่วมกับปุ๋ยทางใบ และเคมีอื่นๆเสริมทางใบ เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร รองเสริม หรือเคมีกำจัดแมลง ในการเตรียมต้น สำหรับ ราดสารครั้งต่อไป.
จัดการ ปัญหาเรื่องใบอ่อน ใบแก่ของลำไย ที่ไม่พร้อมกัน ให้จบพร้อมกันในคราวเดียว แมกนีเซียม 18 %
ใช้แมกนีเซียม ซัลเฟต ชนิดผงเกล๊ด ผสมร่วมกับปุ๋ยทางดิน หรือผสมอาหารพืช รอง เสริม ฉีดพ่นทางใบ แมกนีเซียม 16 % กำมะถัน 13%
มองหา..แมกนีเซียมชนิดผงเกล็ด * แมกนีเซียมชนิดน้ำ ตามร้านเคมีเกษตร ใกล้บ้านท่าน หรือ.. ซื้อแมกนีเซียม