undefined
undefined
undefined
ลำไยสีชมพู
ลำไยพันธุ์สีชมพู
ลำไยสีชมพู ลักษณะใบปลานกลาง ไม่ใหญ่มาก สีเขียวอมหม่น ลำต้นน้ำตาลอ่อน ลำต้นไม่แข็งแรง กิ่งเปราะ เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตช้า เมื่อเทียบกับพันธุ์อีดอ ทนแล้งปลายกลาง พันธุ์นำปลูกที่เริ่มหาได้ยาก ในปัจจุบัน ลำไยสีชมพู เป็นลำไยพันธุ์ที่มีผลใหญ่ เปลือนอกออกรู้สึกชมพูไม่เรียบสวย เนื้อหนา เมล็ดในเล็ก เนื้อมีสีชมพูบางๆ รสดี หวานมาก มีความฉ่ำกรอบ หวานละมุนลึกลงลำคอ นุ่มๆมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ตามแบบสายพันธุ์สีชมพูที่แตกต่างจาก พันธุ์อีดอ อีแห้ว และเบี้ยวเขียว ( นักนิยมลำไย เกริ่นคล้ายกลิ่นลำไยเน่าเสีย รสชาดหวานจะกดปลายลิ้น ไหลลงลำคอ กลิ่นออกจมูกที่รู้สึกที่ออกเน่า จะหายไปด้วยความหวานจัดที่เป็นเอกลักษณ์ ) นักนิยมลำไยจัดว่าเป็นลำไยที่มีความคลาสสิคอย่างมาก ของตระกูลลำไยทั้งหมด ความโดดเด่นของรสชาด จึงเป็นเสน่ห์แห่งสายพันธุ์ลำไยสีชมพูนี้ ปัจจุบันมีการปลูกน้อยมาก ด้วยตลาดครั้งอดีตมีช่องทางให้ได้จำหน่ายน้อย จึงมีการปลูกน้อย จึงเน้นไปทางลำไยตลาดเช่นพันธุ์อีดอลำไยสีชมพู
ลำไยพันธุ์สีชมพูจัดเป็นลำไยนำฝากผู้ใหญ่ หรือให้ผู้ที่เคราพนับถือกัน เป็นตัวแทนแห่งการแสวงหา ตอบแทนอย่างซาบซึ้ง ลำไยที่หายาก ชนิดหนึ่งในตลาดทั่วไป ลำไยสีชมพูติดผลค่อนข้างยากโดยธรรมชาติ สรุปได้มีการออกดอกเว้นปี ตามธรรมชาติปกติปัจจุบันมีการนำสารเคมีกระตุ้นให้เกิดดอก เมื่อลำไยมีต้น และใบสมบูรณ์ดีพร้อมให้เกิดดอก กระกระตุ้นด้วยครอเรต ด้วยการราดทางดิน หรือวิธีฉีดพ่นทางใบ ผลการกระตุ้นการเกิดดอกด้วยครอเรต ได้ราว 70-80 เปอร์แช็นต์ ในฤดูปกติ
ลำไยสีชมพู มีการสุกคล้อยจากลำไยพันธุ์อีดอ ออกหลังการเก็บเกี่ยว หรือออกพร้อมพันธุ์อีแห้ว ตามฤดูปกติ
สำหรับผู้เขียน : ด้วยลำไยพันธุ์สีชมพู มีรสชาดที่ดี ถึงดีมาก มีความเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะที่เด่นของสายพันธุ์นี้ ยังคงน่าสนใจนำมาเพาะปลูก จากที่อดีตการปลูกลำไยเน้นการส่งออก (โดยเน้นสายพันธุ์อีดอ) การหันมาปลูก ทำตลาดในบ้าน โดยใช้สารพันธุ์สีชมพู ด้วยปัจจุบันการขาย ด้วยระบบขายผ่านออนไลน์ได้สะดวก ผู้เขียนจึงมองเห็นว่าเป็นโอกาส ที่จะปลูกและสร้างมูลค่า ลำไยด้วยจุดเด่นรสชาด สายพันธุ์ ที่มีความต่าง จากที่มีครู่แข่งน้อย หายาก รสชาดของสายพันธุ์ที่มีเฉพาะ ความฉ่ำ กรอบ หวานละมุน นุ่มๆ จึงน่านำเป็นของฝาก ยังเป็นสิ่งที่มีค่าทางความรู้สึกเพิ่มขึ้นทางHistory ต่างไปจากที่เราคุ้นเคยของสายพันธุ์อีดอ และลำใยที่อบแห้ง ทั้งเนื้อและเปลือก ของสายพันธุ์ต่างๆ.
โอกาสต่อไปจะนำ สายพันธุ์ที่น่าสนใจ เช่น #อีแห้ว (ลำไยพันธุ์แห้ว ) #เบี้ยวเขียว (ลำไยสายพันธุ์อีเบี้ยวเขียว) นำเสนอ ด้วยสองสายพันธุ์นี้ มีเอกลักษ์ของรสชาดที่แตกต่างกัน ทั้งรส และกลิ่น.