ลำไยพันธุ์อีเบี้ยวเขียว

พันธุ์เบี้ยวเขียว หรือเรียกแบบทั่วไปว่า"อีเบียวเขียว. เป็นลำไยสายพันธุ์ที่ผลใหญ่น้ำหนักดี เมล็ดในเล็กหรือเลียบ พันธุ์เบี้ยวเขียว ออกดอกพร้อมกันในฤดูเหมือนสายพันธุ์อื่นๆ และเก็บ
เกี่ยวคล้อยหลังลำไยสุดท้าย พันธุ์เบี้ยวเขียวปลูกได้ทุกสภาพดิน ทนแล้งได้ดี ธรรมชาติการออกดอกเว้นปี ตามความสมบูรณ์ของต้น
เบี้ยวความหมาย มาจากลักษณะของผลเมื่อผลเต็มที่จะออกเบี้ยว ส่วนเขียวลำไยพันธุ์นี้ มีเปลือกเขียวแต่ผลเล็ก อมออกน้ำตาลเล็กน้อยเหมือนพันธุ์อื่นๆ ขั่วผลใหญ่แข็งแรง
ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว แบ่งได้ 2 สายพันธุ์จากปราฏกในการนำมาเพาะปลูก ลักษณะคล้ายลำไยอีดอ-อีแห้ว ที่มี สายลักษณะพันธุ์ก้านแข็ง และก้านอ่อน ส่วนชื่อที่ปรากฏ เป็นไปตามแถบที่ปลูกแล้วตั้งชื่อกำกับให้ทราบกัน ดังเช่น
เบี้ยวเขียวเชียงใหม่ ( ถิ่นขานนามปลูกแถบจังหวัดเชียงใหม่) ลักษณะกิ่งก้านที่อ่อน ผลกลมแป้น ลักษณะผิวเปลือกผลเรียบ เมล็ดในกลมแบน รสชาดค่อนข้างดี ถึงดีมาก หวานไม่มาก ออกกรอบ เนื้อมาก มีกลิ่นฉุนเล็กน้อยออกอารมณ์เหม็นเขียวขี้นจมูก เมื่อสุกเต็มที่ กลิ่นจะอ่อนลงและกรอบมาก ความหวานไม่มากเมื่อเทียบกับอีแห้ว อีดอ
อีเบี้ยวเขียว
เบี้ยวเขียวป่าเส้า ( ถิ่นขานนามปลูกแถบตำบลหนึ่ง ในจังหวัดลำพูน) ลักษณะก้านกิ่งออกแข็ง ติดผลยากออกดอกยาก ตามฤดูกาลปกติ (ปัจจุบันมีการกระตุ้นด้วยสารครอเรต จึงสามารถบังคับให้ได้ผลผลิตทุกปี เมื่อลำต้น ใบลำไยสมบูรณ์ดี ) ผลลำไยมีขนาดใหญ่ เปลือกผลขุขระ สีสวยตามแบบฉบับ ลำไยผลโต รสชาดดี ไม่ต่างจากพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อนมากนัก เมื่อสุกต็มที่ ข้อด้อยมักติดโรคพุ่มไม้กวาด ต้องดูแลให้ดี ทุกวันนี้พบเห็นได้ยากจากการที่เน้นการปลูกลำไยตลาดเช่นอีดอ
ข้อแตกต่างเพียงกิ่งก้าน และก่อนออกดดอกติดผล เป็นส่วนหนึ่งที่ให้สายพันธุ์ที่ด้อย เริ่มหายไป ทุกวันนี้มีการเริ่มปลูกพันธุ์เบี้ยวเขียวมากขึ้นเพื่อทำตลาดออนไลน์ในบ้าน ข้อดีของลำไยเบี้ยวเขียวทนต่อการเก็บเกี่ยวไม่เสียง่าย ขนส่งทนการเสีนดทาน ด้วยผที่มีเปลือกที่หนา ขั้วผลใหญ่แข็งแรง น้ำหนักมากเมื่อเทียบผลต่อผลกับลำไยพันธุ์อื่นทั่วไป
สำหรับผู้เขียน : ด้วยลำไยลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว มีรสชาดที่ดี เป็นเอกลักษณ์ ลักษณะที่เด่นของสายพันธุ์นี้ ยังคงน่าสนใจนำมาเพาะปลูก จากที่อดีตการปลูกลำไยเน้นการส่งออก (โดยเน้นสายพันธุ์อีดอ) การหันมาปลูก ทำตลาดในบ้าน โดยใช้ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว ด้วยปัจจุบันการขายง่ายกว่าแต่ก่อนมาก ด้วยระบบขายผ่านออนไลน์ ผู้เขียนจึงมองเห็นว่าเป็นโอกาส ที่จะปลูกและสร้างมูลค่า ลำไยด้วยจุดเด่นรสชาด สายพันธุ์ ประวัติที่น่าสนใจ ทีมาของความต่าง จากที่มีครู่แข่งน้อย รสชาดของสายพันธุ์ที่มีเฉพาะ ความ กรอบไม่หวานมาก จึงน่านำเป็นของฝาก ยังเป็นสิ่งที่มีค่าเพิ่มขึ้น จากที่เราคุ้นเคยสายพันธุ์อีดอ และลำใยที่อบแห้ง ทั้งเนื้อและเปลือก.
ลำไยพันธุ์ทุกสายพันธุ์ จะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4-5 ปีหลังการปลูก จะออกดอกในเดือน ช่วงธันวาคม-มกราคม ดอกระยะบาน ปลายกุมภาพันธ์ ตามฤดูปกติ และเก็บผลผลิตหลังนี้ 6-7 เดือนการดูและให้น้ำใส่ปุ๋ย สม่ำเสมอ เป็นตัวบอกระยะเก็บเกี่ยวสั้นยาว ของลำไย
โอกาสต่อไปจะนำ สายพันธุ์ที่น่าสนใจ เช่น #สีชมพู (ลำไยพันธุ์สีชมพู ) #อีดอ (ลำไยสายพันธุ์อีดอ) #อีแห้ว นำเสนอ ด้วยสองสายพันธุ์นี้ มีเอกลักษ์ของรสชาดที่แตกต่างกัน ทั้งรส และกลิ่น.
ลำไยพันธุ์อีเบี้ยวเขียว
เรียงระดับ-การเก็บเกี่ยวพันธุ์ลำไย

Tips : การกินลำไยส่วนใหญ จากที่เคยพบว่า เมื่อได้กินแล้วทำให้เกิดการหยุดกินไม่ได้ เกิดการกินต่อเนื่องด้วยเหตุไดมิทราบได้ ..วิธีที่หยุดให้กินน้อยลงได้โดยการ เขี้ยวเมล็ดในสีดำลำไยให้ละเอียด ซึ่งจะมีรสออกฝาดจะช่วยให้ลดการกินลง ถึงหยุดไม่กินลำไยต่อเนื่องได้ และเมล็ดในสีดำยังมีสรรพคุณทางยาที่วงการอุตสาหรรมอาหารนำมาสกัดเป็นผลตภันณ์จำหน่ายได้ด้วย การกินลำไยกินมากจะทำให้เกินการร้อนใน (อ้างอิงข้อที่ปรากฏตามงานวิจัย)